1/10/2552

คู่มือการใช้โปรแกรม Illustrator

1. ประวัติโปรแกรม Illustrator
2. เครื่องมือในการสร้างภาพ
3. การสร้างและการปรับแต่งข้อความ
ตัวอักษรที่สร้างในโปรแกรม Illustrator โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ตัวอักษรแบบ Point Type เป็นการพิมพ์ตัวอักษรแต่ละคำลงไปบนอาร์ตบอร์ด เหมาะสำหรับข้อความที่ไม่ยาวมาก หรือทำเป็นหัวเรื่องที่เน้นการตกแต่งที่สวยงาม
2. ตัวอักษรแบบ Area Type เป็นการพิมพ์ตัวอักษรเป็นข้อความให้อยู่ในกรอบพื้นที่ที่เป็นขอบเขตที่เรากำหนด ซึ่งเราสามารถกำหนดกรอบพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปทรงต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ โดยเหมาะสำหรับการจัดข้อความยาว ๆ หลายบรรทัดให้อยู่ในขอบเขตหรือรูปทรงที่กำหนด
3. ตัวอักษรแบบ Type on Path เป็นการพิมพ์ตัวอักษรให้เรียงไปตามโค้งของเส้นพาธตามที่เรากำหนด
การสร้างตัวอักษรแบบ Point Type
เราสามารถใช้เครื่องมือ Type Tool สร้างข้อความแบบ Point Type ในแนวนอนและเครื่องมือ Vertical Type Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวตั้งได้ ดังนี้
1. คลิกเลือก Type Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวนอน หรือ Vertical Type Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวตั้ง
2. คลิกลงไปที่ชิ้นงานและพิมพ์ข้อความตามที่ต้องการ
3. สามารถกำหนดสีของตัวอักษร ความหนา ลักษณะการเน้นข้อความได้ตามต้องการ
สร้างตัวอักษรแบบ Area Type
สร้างตัวอักษรในกรอบข้อความสี่เหลี่ยม เป็นการสร้างตัวอักษรที่มีความยาวหลายบรรทัดในกรอบรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้เครื่องมือ Type Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวนอนและเครื่องมือ Vertical Type Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวตั้ง ดังนี้
1. คลิกเลือก Type Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวนอน หรือ Vertical Type Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวตั้ง
2. คลิกลากเมาส์วาดกรอบข้อความรูปสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นขอบเขตของการพิมพ์ข้อความ
3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
4. สามารถเปลี่ยนสี รูปแบบตัวอักษรได้ตามต้องการ






















สร้างตัวอักษรแบบ Type on Path
เป็นการพิมพ์ข้อความให้ว่างอยู่บนเส้นพาธ ซึ่งจะได้ตัวอักษรวางเรียงกันไปตามความโค้งของเส้นพาธตามที่เรากำหนด โดยมีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้
1. สร้างเส้นพาธที่จะใช้เป็นแนวในการจัดวางข้อความ
2. คลิกเลือก Type on Path Tool เพื่อสร้างข้อความในแนวนอน หรือ Vertical Type on Path Too เพื่อสร้างข้อความในแนวตั้ง
3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการ













ตัวอย่างภาพที่ได้จากการสร้างและปรับแต่งข้อความ



















การบันทึกไฟล์
หลังจากสร้างชิ้นงานเสร็จแล้ว เราสามารถบันทึกไฟล์ได้หลายรูปแบบ ดังนี้
เลือกคำสั่ง File ที่เมนูบาร์และเลือกรูปแบบการบันทึกไฟล์ดังต่อไปนี้
File>Save เป็นการบันทึกงานอยู่ในไฟล์เดิมที่เรากำลังเปิดแก้ไขอยู่
File>Save As เป็นการบันทึกงานเดิมเป็นชื่อใหม่ หรือบันทึกให้อยู่ในรูปของฟอร์แมตใหม่
File>Save a Copy… เป็นการบันทึกภาพในลักษณะเดียวกับ Save As แต่เมื่อบันทึกไฟล์เรียบร้อยแล้ว จะกลับมาทำงานยังไฟล์เดิมที่ทำการแก้ไขอยู่
File>Save as Templat.... เป็นการบันทึกไฟล์เก็บไว้เป็นเทมเพลต เพื่อเก็บไว้ใช้งานซึ่งจะบันทึกเป็นนามสกุล .AIT
File>Save for Web & Devices เป็นการบันทึกไฟล์เพื่อให้ได้ภาพที่เหมาะสำหรับกานใช้งานบนเว็บ ซึ่งจะเป็นนามสกุล .JPEG, GIF , SWF, SVG และ PNG

กรณีการเลือก Save, Save As, Save a Copy…, Save as Template…







































กรณีการ Save for Web & Devices…















การทำให้รูปภาพเข้าไปอยู่ในตัวอักษร
เป็นการทำให้รูปภาพเข้าไปอยู่ในตัวอักษร ตามที่เราต้องการ
ขั้นตอนการทำ
1. สร้างไฟล์งานใหม่โดยไปที่เมนู File > New แล้วกำหนดพื้นที่ทำงาน
2. ใช้เครื่องมือ Type Tool พิมพ์ข้อความ และเปลี่ยนรูปแบบ ขนาดของตัวอักษรที่พาเล็ตต์ Character
เสร็จแล้วคลิกขวาที่ตัวอักษรเลือก Create Outline เพื่อทำให้ตัวอักษรเป็นเส้น Path

3. ต่อไปคลิกขวาที่ตัวอักษรนี้แล้วเลือก Ungroup เพื่อทำให้ตัวอักษรแยกออกจากกลุ่มเป็นตัวใครตัวมัน















4. ต่อไปใช้คำสั่ง File > Place เพื่อเรียกรูปภาพเข้ามา แล้วเลือกรูปภาพตามที่ต้องการ

5. มีตัวอักษรทั้งหมด 3 ตัว ก็ต้องเรียกภาพทั้งหมด 3 ภาพ หรือจะใช้ภาพเดียวแต่เรียกมาทั้งหมด 3 ตัว แล้วทำการย่อขยายให้รูปภาพมีขนาดพอเหมาะพอดีกับตัวอักษรทั้ง 3 ตัว โดยใช้เครื่องมือ Free Transform Tool ดึงย่อขยายภาพ

6. จากนั้นใช้เครื่องมือ Selection Tool คลิกเลือกภาพทั้ง 3 ภาพ พร้อมกดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้วคลิกขวาเลือก Arrange > Send to Back เพื่อส่งรูปภาพไปอยู่ด้านหลังตัวอักษร ดังรูปด้านล่าง




















7. ใช้เครื่องมือ Selection Tool เลือกตัวอักษรและรูปครั้งที่ 1
แล้วคลิกขวาที่ส่วนที่เลือกนี้แล้วเลือก Make Clipping Mask จะได้ตัวอักษรดังรูปด้านล่าง





















ทำเช่นนี้จนครบทั้ง 3 ตัวอักษร




11/13/2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

มัลติมีเดีย และเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีความสำคัญกับการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเรียนในระบบออนไล์ หรือเรียนผ่านระบบเครือข่าย (e-Learning) เพราะการนำเทคโนโลยีทางด้านนี้มาใช้ เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมาก ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับระบบได้ และระบบสามารถเก็บข้อมูลสถิติการเรียน การทดสอบ และพัฒนาการของผู้เรียนไว้เป็นข้อมูลได้เช่นกัน นอกจากการเรียนดังกล่าว เทคโนโลยีมัลติมีเดียยังมีความสำคัญกับการให้บริการสารสนเทศในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเกิดผลดีต่อผู้ใช้ และเป็นการสร้างคุณค่าให้กับสารสนเทศนั้น ๆ ให้มีความสำคัญต่อผู้ใช้ เนื่องด้วยการเข้าถึงสารสนเทศนั้น ๆ ทั้งนี้นอกจากประโยชย์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วมัลติมีเดียยังมีข้อดีอีกมากมายดังนี้
1.เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน ตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัย
ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่า สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
2. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
3. สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring Tools) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
5. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่
เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
6. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ ตนเองต้องการ
7. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบ ให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
8. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน หรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบครือข่าย ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
1. เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
2. ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
3. โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
5. ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
6. การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
7. คอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูลรูปแบบการสอนเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การ ตรวจสอบ ความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
8. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ความจำความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และโครงสร้างของเนื้อหา

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
1. เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้กับทุกสาขาอาชีพ
2. ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
3. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
5. ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
6. อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
7. เน้นโครงการสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นขั้นตอน ไม่ตรวจสอบความรู้ ของผู้รับข้อมูล
8. โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ